ค่านิยม12ประการ


ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
ตั้งใจทำกิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า ยืนตรงเคารพธงชาติ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
ไม่โกหกคนอื่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง รู้จักแบ่งปัน คำนึงถึง ความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 
ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 
แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย  และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
คิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักให้
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 
เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย และรู้จักที่จะรับฟังเสียงข้างมาก ไม่ยึดตนเองเป็นหลัก
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 
ปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเช่น สวมหมวกกันน็อค  รู้จักการเคารพผู้ใหญ่เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
รู้จักพอเพียง  พอประมาณตนเอง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
ยึดมั่นในศีลธรรม  ไม่ยอมเป็นลูกน้องของคนชั่ว  เกรงกลัวที่จะทำผิด
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่น  ด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น  ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น